ภาษาญ้อและที่มา

ภาษาญ้อและที่มา
คนญ้อหรือไทญ้อ เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมบนดินแดนอุษาคเนย์กลุ่มหนึ่ง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำโขงฝั่งไทย และลึกเข้ามาในแผ่นดินอีสาน คนญ้อ มีภาษาของตนเอง เรียกว่า ภาษาญ้อ ซึ่งมีความไพเราะมีศัพท์เฉพาะหลากหลายน่าสนใจ เป็นภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลไท (Tai) แต่ก่อนที่จะเรียนรู้ลักษณะภาษาญ้อ จะขอกล่าวถึงประวัติและการตั้งถิ่นฐานของคนญ้อพอเป็นสังเขป
ถิ่นฐานคนญ้อ
เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน คนญ้ออพยพมาจากเมืองคำเกิด แขวงคำม่วนใน สปป.ลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองชัยสุตอุตมะบุรี ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเมืองชัยสุดอุตะมะ ในสปป.ลาว หลงเหลือร่องรอยเป็นวัดร้าง ๓ แห่ง ได้แก่ วัดกลาง วัดศรีบุญเรือง และวัดยอดแก้ว เท่านั้น) ต่อมาเกิดสงครามจึงได้มีการอพยพออกไปตั้งเมืองที่อำเภอโปงเลงใกล้ประเทศเวียดนาม และสุดท้ายได้ย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอท่าอุเทนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบผู้ที่พูดภาษาญ้อในหลายพื้นที่ เช่น อำเภอท่าบ่อ และอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย, อำเภอท่าอุเทน ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอนาหว้า อำเภอศรีสงคราม และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม, เขตอำเภอวานรนิวาส สว่างแดนดิน อากาศอำนวย กุดบาก กุสุมาลย์ และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร, บ้านโพนสิม ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และบ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นอกจากนี้ยังมีพูดกันในอำเภอคลองน้ำใส จังหวัดจันทบุรี อีกด้วย สล็อตเว็บตรง
การย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อมีสาเหตุมาจากการถูกเกณฑ์และอพยพมาในภายหลังเพื่อตั้งถิ่นฐานตามญาติพี่น้องที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย โดยการอพยพแต่ละครั้ง จะมีผู้นำมาด้วย เช่น ในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ ญ้อเมืองท่าอุเทน มีท้าวหม้อ เป็นหัวหน้า ได้พาลูกเมียและบ่าวไพร่จำนวน ๑๐๐ คน ตั้งบ้านเมืองอยู่ที่ปากแม่น้ำสงครามซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่จังหวัดนครพนม แต่หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ได้มีการอพยพกลับไปตั้งถิ่นฐานอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เมืองปุงลิง (ปัจจุบันอยู่ในแขวงคำม่วน สปป.ลาว) และในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ ก็อพยพกลับมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของเมืองหงสา เมืองไชยบุรี ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ เจ้าเมืองหลวงปุงลิงได้พาครอบครัวและบ่าวไพร่ข้ามแม่น้ำโขงมาประเทศไทยโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองท่าอุเทน ปัจจุบันเป็นอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ส่วนหัวหน้าของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้ออีกกลุ่มหนึ่ง คือ พระคำก้อน เจ้าเมืองคำเกิด สปป.ลาวได้ขอสวามิภักดิ์ต่อกรุงสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๓๗๙ และในปี พ.ศ. ๒๓๘๒ ได้อพยพมามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองท่าขอนยาง ปัจจุบันเป็น ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์
ภาษาญ้อและที่มา
จากงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อของ บัญญัติ สาลี และคณะ (๒๕๕๑) พบจารึก ๒ แผ่นที่เป็นหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อในหมู่บ้านท่าขอนยาง คือ จารึกใบเสมาและจารึกบนฐานพระพุทธรูปซึ่งพบที่วัดมหาผล บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในจารึกทั้ง ๒ หลักได้กล่าวถึงเจ้าเมืองท่าขอนยาง นามว่า พระสุวรรณภักดี ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มชาติพันธุ์ญ้อได้สร้างพัทธสีมาและพระพุทธรูปในจุลศักราช ๑๒๒๒ นอกจากจะนับถือศาสนาพุทธแล้ว คนญ้อยังมีความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือผีฟ้า ผีเฮือน อีกด้วย สล็อตเว็บตรงแตกง่าย
ประเพณีและการละเล่นของญ้อ
กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อในประเทศไทยมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก ประเพณีที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อคือประเพณีไหลเรือไฟในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา เรียกว่า “ไหลเฮือไฟ” นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ คือ หมากโข่งโหล่ง หมากต่อไก่ หมากนู่เนียม ปาบึกแล่นมาฮาด หม่อจ้ำหม่อมี และหมากอีหมากอำ การละเล่นแต่ละประเภทจะมีวิธีการเล่นและมีเพลงประกอบการละเล่นด้วย เช่น การละเล่นหม่อจ้ำหม่อมี มีเพลงประกอบว่า จั้มหม่อมี่มาจี่หม่อหม่น หักคอคนเซอหน้านกกด หน้านกกดหน้าลิงหน้าลาย หน้าผีพายหน้ากิกหน้าก่อม หน้ากิก (หน้าสั้น) หน้าก่อม (หน้ากลม) ยอมแยะแตะปีกผึ่งวะผึ่งวะ (ซ้ำตั้งแต่ต้นไปเรื่อยๆ) เป็นต้น สล็อตเว็บตรง
ลักษณะภาษาญ้อ
ภาษาญ้อและที่มา
ภาษาญ้อเป็นภาษาประจำกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ เป็นภาษาที่สำคัญภาษาหนึ่งในภาคอีสาน เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อมีประวัติความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน กล่าวคือ มีความแตกต่างจากภาษาไทยกลางหรือภาษาไทยอีสานในเรื่องของคำ เสียงสระและวรรณยุกต์ สล็อตเว็บตรง
ระบบเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ของภาษาญ้อในแต่ละพื้นที่จะมีความแหมือนหรือแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงระบบเสียงในภาพรวม ดังนี้ พยัญชนะได้แก่ /ก ค ง จ ซ ญ ด ต ท น บ ป พ ฟ ม ย ล ว อ ฮ/ หน่วยเสียงทั้งหมดนี้ปรากฏในตำแหน่งพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด และหน่วยเสียงที่เป็นพยัญชนะท้าย ได้แก่ /-ก –ง –ด –น –บ –ม
–ย –ว/ รวมถึงเสียงกักที่เส้นเสียงข้างท้ายพยางค์ที่มีสระเสียงสั้น
สระเดี่ยว ได้แก่ /อิ, อี, เ–ะ, เ, แ–ะ, แ , อึ, อื, เ–อะ, เ–อ, อะ, อา, อุ, อู, โ–ะ, โ–, เ–าะ, ออ/ สระบางตัวของภาษานี้มีความแตกต่างจากภาษาไทยกลางและไทยอีสาน เช่น เสียงสระ เออ ของคำที่ตรงกับเสียงสระ ใ –ของภาษาไทยอีสานและไทยกลาง เช่น หัวเจ๋อ = หัวใจ เฮอ = ให้ ผู้เญ่อ = ผู้ใหญ่ ลูกเพ่อหรือ ลูกพ่อ = ลูกสะใภ้ เส้อ = ใส่ เบ๋อ = ใบไม้ เม่อ = ใหม่ เสอ = ใส เตอ = ใต้ เกอ = ใกล้ เญ่อ = ใหญ่ เน้อ = ใน
สระประสม ได้แก่ /เอีย, เอือ, อัว/
วรรณยุกต์ ได้แก่ วรรณยุกต์ที่ ๑ (ต่ำ–ขึ้น) วรรณยุกต์ที่ ๒ (กลางระดับ, กลาง–ขึ้น) วรรณยุกต์ที่ ๓ (ต่ำ–ตก, กลาง–ตก) วรรณยุกต์ที่ ๔ (สูง–ขึ้น–ตก, กลาง–ขึ้น–ตก) อย่างไรก็ตามวรรณยุกต์ภาษาญ้อจะแตกต่างไปตามท้องถิ่นต่างๆ
ลักษณะที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งก็คือ คำแสดงคำถามซึ่งเป็นการใช้คำที่แตกต่างจากภาษาไทยกลางและไทยอีสาน ตัวอย่าง เช่น
เตอ/เบอะเตอ = อะไร เช่น นั่นเตอ / นั่นเบอะเตอ = นั่นอะไร เจ้า เฮ็ดเตอ / เจ้า เฮ้อ เบอเต๋อ = คุณทำอะไร
เฮ็ดเตอ = ทำไม เช่น ถาม ข้อย เฮ็ด เตอ = ถามฉันทำไม
เล่อ เล่อ / จั้งเลอ = อย่างไร เช่น เขา เว่อ เลอ เล่อ = เขาพูดอย่างไร แม่ ซิ เฮ็ด เลอ เล่อ = แม่จะทำอย่างไร เจา ซิ เว่า จั้งเลอ = คุณจะพูดอย่างไร
มื่อเล่อ = เมื่อใด/เมื่อไร เช่น เจา คึ้น เฮือน มื่อเล่อ = คุณขึ้นบ้านใหม่เมื่อใด
กะเล่อ = ที่ไหน / ไหน เจา ซิ ไป กะเล่อ = คุณจะไปไหน
คำศัพท์ที่ใช้ในประโยคคำถามเกี่ยวกับบุคคล ใช้คำว่า เผอ = ใคร เผอเลอ = ใคร สามารถใช้ทั้งขึ้นต้น และลงท้ายประโยค เช่น
เผอ มา ห่า ข้อย = ใครมาหาฉัน
เผอเลอ เอิ้น ข้อย = ใครเรียกฉัน
เฮือน ของ เผอเลอ = บ้านของใคร
เผอ มา เฮ็ด ปะ เตอ = ใครมาทำอะไร
จากตัวอย่างข้างบนจะพบว่า การเรียงประโยคจะมีลักษณะที่เป็น ประธาน–กริยา–กรรม
อย่างไรก็ตาม ภาษาญ้อในแต่พื้นที่มีการใช้คำศัพท์หรือสำเนียงทั้งที่เหมือนและแตกต่างกันออกไป คำพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นคำเดียวกัน แต่มีคำศัพท์บางหมวดที่ใช้แตกต่างกันตามการปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นที่อยู่รอบข้าง ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาญ้อแตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น คำว่า เท้าแพลง ภาษาญ้อสกลนครเรียกกว่า ตีน–ขะหล่อย ภาษาญ้อนครพนม เรียกว่า ตีน–พิก–โบก เป็นต้น เว็ปตรงแตกหนัก
สภาวะการณ์ภาษาและวัฒนธรรม
ภาษาเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนตัวตนของคน เมื่อคนมีการติดต่อสื่อสารกัน ก็จะซึมซับและส่งผ่านภาษาและวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ภาษาที่มีบทบาทมากกว่า มีคนใช้มากกว่า ก็จะกลืนกลายภาษาเล็กๆ ภาษาญ้อก็เช่นกันที่อยู่ท่ามกลางภาษาไทยอีสาน จึงรับภาษาไทยอีสานเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน และรับภาษาไทยมาตรฐานผ่านการศึกษาและสื่อต่างๆ ส่งผลให้ผู้ที่พูดภาษาญ้อเริ่มมีจำนวนลดน้อยลงไปเรื่อยๆ จนถึงขั้นวิกฤต แม้ว่าจะมีการใช้ภาษาญ้อในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ดังกล่าวแล้วก็ตาม ดังนั้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ภาษาญ้อจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
การเฝ้าระวังและสงวนรักษา
ด้วยความตระหนักในสถานการณ์วิกฤตทางภาษาและวัฒนธรรม หน่วยงานต่างๆ จึงได้ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์
ทั้งที่เป็นงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และกิจกรรมเสริมสร้างให้เกิดความสำนึกในการอนุรักษ์ภาษา ดังที่กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ ท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จัดให้มีโครงการหลายประเภท เพื่อการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ภาษาญ้อ เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ภาษา ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการละเล่นพื้นบ้านญ้อ บ้านท่าขอนยาง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การจัดศาลาวัฒนธรรมญ้อสร้างขึ้นเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมญ้อ ชุมนุมวัฒนธรรมญ้อก่อตัวขึ้นมาในโรงเรียน ประเพณีไหลเรือไฟได้รับการฟื้นฟูการละเล่นญ้อปรากฏอยู่ในลานวัด จัดทำป้ายแหล่งวัฒนธรรมญ้อ และร่วมสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมญ้อท่าขอนยาง ปฏิบัติการทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ญ้อเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมและภาษาของตนเองท่ามกลางการสูญหายไปของภาษาและวัฒนธรรม
นอกจากนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมเล็งเห็นความสำคัญของภาษาญ้อ จึงได้ยกระดับภาษาญ้อขึ้นเป็นมรดกทางสังคม โดยการประกาศขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อจะได้สนับสนุนและเสริมแรงใจให้กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อได้ร่วมสร้างสำนึก อนุรักษ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมของตนเองต่อไป
Comments are closed